สํานักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 14 ม.ค. 65
สํานักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค (สศม.) รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 14 ม.ค. 65 ดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ธ.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 86.8 จากระดับ 85.4 ในเดือนก่อน
2. ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ธ.ค. 64 หดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.2 จากระดับ 44.9 ในเดือนก่อน
4. หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 59.58 ของ GDP
5. ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 64 คิดเป็น 1.93 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
เครื่องชี้เศรษฐกิจ ไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ธ.ค. 64 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ระดับ 86.8 จากระดับ 85.4 ในเดือนก่อน
ดัชนีฯ เดือน ธ.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาคต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่ องค์ประกอบของดัชนีฯ เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ทั้งยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และ ผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งภาค การผลิต การค้า และการเดินทางระหว่างประเทศ ประกอบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในประเทศและในต่างประเทศที่ ยังคงขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ดี การระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ในไทยและหลายประเทศทั่วโลกคาดว่าจะเริ่มส่งผล กระทบต่อการผลิตรวมถึงการส่งออกมากขึ้นในช่วงต้นปี 65 รวมถึงในช่วงถัดไปหากสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย ได้ช้ากว่าที่คาด ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการมีแนวโน้มลดลงสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 95.2 จากระดับ 97.3 ในเดือน พ.ย. 64
ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ธ.ค. 64 หดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน แต่หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 5.2 เม่ือเทียบกับเดือนก่อนหน้า
โดยในเดือน ธ.ค. 64 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เมื่อเทียบรายเดือนหลังหักผลของ ฤดูกาล ตามกิจกรรมการก่อสร้างที่ฟื้นตัวดีขึ้น จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายมากขึ้น และการเร่ง ก่อสร้างในโครงการของรัฐโครงสร้างพ้ืนฐานของรัฐ ขณะที่ในระยะถัดไป การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ ส่งผลให้มีจานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันส้ัน ๆ อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการ ให้ลดลง และให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการก่อสร้างชะลอตัวลง
ที่มา : 3 บริษัทเอกชน คานวณ โดย สศค.
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.2 จากระดับ 44.9 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่เดือน เม.ย. 64 เป็นต้นมา
โดยเป็นผลมาจาก ศบค. ผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เพื่อเป็นการรองรับมาตรการเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 เป็นต้นไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ (ประเทศที่มีความเสี่ยงต่า) บินเข้ามาประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว แม้ว่า ศบค. จะมีคาสั่งยกเลิก Test & Go และให้ใช้ระบบกักตัว พร้อมปิดรับลงทะเบียนนักท่องเที่ยวรายใหม่เข้าไทยตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค. 64 จนถึง 4 ม.ค. 65 ประกอบกับการตรึงราคาน้ามันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่คาดว่าทาให้ การจับจ่ายใช้สอยของคนไทยในการบริโภคและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมีมากขึ้นในช่วงปลายปี รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะเข้า้มาหมุนเวียนเพิ่มเติมในระบบเศรษฐกิจ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 64 มีจานวนทั้งสิ้น 9,620,306 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.58 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 159,302 ล้านบาท
ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้ จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับ ต่ากว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 86.74 ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็น ร้อยละ 98.2 ของยอดหนี้สาธารณะ
ที่มา : สานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เครื่องชี้การเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 64 คิดเป็น 1.93 เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ต้องดารงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ 5.3 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือน ก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพ คล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิใน สภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐ
-
อัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบประมาณ 38 ปี โดยได้รับผลจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสาคัญ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปี 64 อยู่ ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากปี 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน
-
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (2-8 ม.ค. 65) อยู่ที่ระดับ 2.30 แสน ราย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.07 แสนราย และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 8 สัปดาห์ จากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่กระทบต่อ กิจกรรมทางเศรษฐกิจตั้งแต่การเดินทางทางอากาศจนถึงแผนการเปิดการเรียนการสอน อย่างไรก็ดี ยังเป็นระดับที่ต่ากว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่ระดับ 2.15 แสนราย ซึ่งบ่งชี้ว่าสภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงตึงตัวต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัว อย่างรวดเร็ว และความต้องการแรงงานยังคงแข็งแกร่ง
จีน
-
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากราคาต้นทุนเนื้อหมูและราคา อาหารที่ลดลง จากการที่รัฐบาลได้เข้ามาควบคุมราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นและแก้ไขปัญหา การขาดแคลนพลังงาน ขณะที่ราคาค่าบริการโรงแรมและที่พักลดลง เนื่องจากการระบาดของ ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตัวเลขการเดินทาง ลดลง และได้มีการนามาตราการล็อกดาวน์กลับมาใช้ใหม่ในบางภูมิภาคด้วย
-
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางอุปสงค์ ทั่วโลกที่ชะลอตัวจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
-
มูลค่าการนาเข้า เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 31.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ใน ประเทศอ่อนตัวลงจากการระบาดรอลอกใหม่ของโควิด-19
-
ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 เกินดุลที่ระดับ 94.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่เกินดุลที่ระดับ 71.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยูโรโซน
- อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.3 ของกาลังแรงงานรวม และเป็นอัตราการว่างงานที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63
- ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 หดตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พลิก กลับมาหดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน
ออสเตรเลีย
- มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวท่ีร้อยละ 28.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งข้ึนจากเดือนก่อนหน้า ท่ีขยายตัวที่ร้อยละ 25.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวท่ีร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 เกินดุลที่ระดับ 6.3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 9.5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
มาเลเซีย
- ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายเชื้อเพลิงรถยนต์เป็น สาคัญ
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจาก การผลผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสาคัญ
- อัตราว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อนหน้า
อินโดนีเซีย
- ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ท่ีร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายอาหารเคร่ืองดื่มและ ยาสูบเป็นสาคัญ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 64 อยู่ท่ีระดับ 118.3 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 118.5 จุด
ฟิลิปปินส์
- มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 36.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 25.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 ขาดดุลที่ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ ขาดดุลที่ 4.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เกาหลีใต้
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบ้ียนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี จาก ร้อยละ 1.0 ต่อปี ในการประชุมเมื่อเดือน พ.ย. 64 จากความกังวลเร่ืองเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่ อย่างต่อเนื่องและหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น
- อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ท่ีร้อยละ 3.1 ของกาลังแรงงานรวม และเป็นระดับสูงสุดนับต้ังแต่เดือน มิ.ย. 64 จาก การดาเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโอมิครอนทาให้แรงงานบางส่วนต้องตกงาน
เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวเพ่ิมข้ึนจากสัปดาห์ก่อน สวนทางกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) CSI300 (เซี่ยงไฮ้) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 65 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,680.02 จุด ด้วย มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 10-13 ม.ค. 65 อยู่ที่ 82,304.80 ล้าน บาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันใน ประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 10-13 ม.ค. 65 นักลงทุน ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 6,337.52 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มข้ึนในช่วง 1 ถึง 8 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.68 เท่าของวงเงินประมูล ท้ังนี้ ระหว่างวันที่ 10-13 ม.ค. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 22,125.99 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 13 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 39,843.32 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าข้ึนจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันท่ี 13 ม.ค. 65 เงินบาท ปิดท่ี 33.24 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.40 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุล เยน ยูโร วอน ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น จากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่า น้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.24 จากสัปดาห์ก่อน
ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259